เอาอีกแล้ว ปัญหาเจ้าตัวเล็กนับวันยิ่งทวีมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่เดินได้พูดได้ แถมวิ่งเล่นได้นี่ เวลาจะเรียกให้ทานข้าวล่ะก็เป็นต้องอิดออดทุกที เชื่อไหมว่า เด็กน้อยบางคนใช้เวลากินข้าวเพียงมื้อเดียวตั้ง 1-2 ชั่วโมง เป็นเหตุให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกลุ้มใจจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพราะว่ากลัวเจ้าตัวน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และจะทำให้หนูน้อยเป็นโรคขาดสารอาหารอีกด้วย และไม่ว่าจะพยายามหาทางแก้ไขอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นวิ่งตามไปป้อน เล่านิทานให้ฟัง นำตัวการ์ตูนมาล้อ และผลที่ได้รับคือ ไม่กิน จนทำให้คุณแม่ทั้งหลายเครียดไปตามๆ กันเลยทีเดียว แต่ว่าวันนี้เราได้นำเอาวิธีแก้ไขเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว มาบอกกัน วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าวนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากคุณพ่อคุณแม่ และบางทีคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องหากิจกรรมทำร่วมกันลูกน้อยบ้าง
ลูกไม่ยอมกินข้าว ทำอย่างไรดี
เด็กที่ไม่หิวเลยถ้าปล่อยไปนานๆ จะขาดอาหารและเบื่ออาหารมากขึ้นทำให้กินน้อยลงมีผลต่อการเจริญเติบโตแต่การแก้นิสัยนี้ก็ไม่ง่ายเลย เด็กที่ไม่อยากอาหารมักจะไวต่อของหวาน เช่น ถ้าได้กินทอฟฟี่ หรือช็อกโกแลตเพียงเล็กน้อยก็จะอยู่ได้นานโดยไม่รู้สึกหิวอีกเลย ดังนั้นในเด็กที่มีปัญหากินยากต้องหลีกเลี่ยงของหวานก่อนหน้ามื้ออาหารจริง ในพ่อแม่บางคนแก้ปัญหาโดยให้ลูกดื่มนมแทนการกินข้าวแม้นมจะเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุดแต่เด็กยังจำเป็นต้องกินอาหารเป็นหลักจึงจะเติบโตได้ดี คุณอาจใช้วิธีการสร้างความอยากอาหารให้ลูกด้วยการทิ้งช่วงให้เด็กไม่ได้กินอะไรเลยให้นานพอ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำทำให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้นบวกกับต้องสร้างระเบียบวินัยในการกินควบคู่ไปกับการสร้างบรรยากาศต่างๆ เพื่อชักจูงให้เด็กอยากกินอาหาร
ข้อสำคัญ อย่าให้เจ้าหนูน้อยต้องเลือกระหว่างทานข้าว กับขนม เพราะเด็กจะเลือกทานขนมก่อนแน่นอน อีกอย่าง สำรับกับข้าว ควรทำให้ดูน่าสนใจ น่ารับประทาน และคุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะดูแลเอาใจใส่ในระหว่างมื้ออาหารด้วยค่ะ
ปัญหา ลูกไม่ยอมกินข้าว
จำเป็นต้อง งดอาหารหวานทุกชนิด เช่น ขนมถุง ขนมซอง ไอศครีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ทอฟฟี่ ชอคโกแลต ขนม หรืออาหารเหล่านี้จะมีรสหวาน หลังกินจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ซึ่งจะไปกดศูนย์การหิวซึ่งอยู่ในสมองของคนเรา ตรงนี้ล่ะที่เป็นสาเหตุทำให้เด็กอิ่ม ไม่อยากอาหาร ดูตัวเราเองก็ได้วันไหน ช่วงบ่ายๆหลังจากอาหารเที่ยงลองรับประทาน น้ำหวาน น้ำอัดลมไปเรื่อยๆ พอถึงมื้ออาหารเย็น เราอาจรู้สึกอิ่มๆ ไม่ค่อยอยากอาหารได้เช่นกัน
เวลากินอาหารควรเป็นบรรยากาศสบายๆ เหมือนเวลาเราไปเที่ยวชายทะเล วิวดี สบายใจก็มักจะทานอาหารได้มาก ดังนั้นในมื้ออาหารจึงไม่ควรคาดหวัง เข้มงวด หรือทำให้เด็กรู้สึกเครียด และไม่ควรวิพากษ์ วิจารณ์ปริมาณอาหารที่เด็กกิน ที่สำคัญ ไม่ควรดุว่าลงโทษ แสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ หรือพูดให้เด็กรู้สึกผิด และควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในการกิน อันนี้สำคัญมาก เด็กอายุ 1 ปีก็เริ่มจะตักข้าวกินเองได้ โดยเราอาจยอมให้หกเลอะได้บ้าง ไม่ควรป้อน หรือพยายามบังคับให้เด็กกิน อีกวิธีหนึ่งคือการหาอาหารซึ่งเด็กสามารถใช้มือหยิบจับกินเองได้สะดวก เช่น น่องไก่ ข้าวเหนียวปั้น เด็กจะรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
ตักอาหารน้อยๆ ในถ้วยหรือจานสำหรับเด็ก ถ้าไม่พอจึงค่อยเติม คุณพ่อคุณแม่บางท่านโลภมาก อยากให้ลูกทานอาหารมากๆ ก็ตักข้าวพูนจาน ยิ่งทำให้ลูกไม่อยากกินอาหาร (แค่เห็นจานข้าวก็ท้อแล้ว) และหากว่า ถ้าเด็กไม่กินหรือเล่นอาหาร ให้เก็บอาหาร โดยไม่ให้นมหรือขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงอาหารมื้อใหม่ ตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องตัดใจ ก็เห็นใจหัวอกพ่อแม่นะคะ แต่วิธีนี้เท่านั้นที่อาจจะทำให้ลูกกินข้าวได้ ถ้าเด็กหิวก่อนถึงเวลาของมื้อต่อไปก็อนุญาติให้กินอาหารเดิม คือมื้อที่เด็กปฏิเสธไปโดยอาจนำมาอุ่นให้ แต่ห้ามให้นมหรือขนมแทนเด็ดขาดเพราะจะทำให้เค้ารู้ว่า ถ้าไม่กินข้าว เค้าจะได้กินของอร่อยอย่างอื่นแทน การให้ทานข้าวนั้น ถ้ามื้อนี้กินน้อย มื้อหน้าเด็กจะกินมากขึ้นเอง เพราะมนุษย์เราทุกคนมีศูนย์ควบคุมการหิวอยู่ที่สมองอย่างที่เรียนท่านผู้อ่านไปแล้ว ดูตัวอย่างเองก็ได้ สังเกตว่าถ้ามื้อเที่ยงเราทานน้อย หรือไม่ได้ทาน พอถึงมื้อเย็นเราจะทานได้มากขึ้น เพราะศูนย์หิวทำงานนั่นเอง พอหิวแล้วพบว่าเด็กหลายๆ คนเลือกอาหารน้อยลง เดิมไม่กินผักหรือไม่เคี้ยวเนื้อหมูก็เริ่มกินได้เอง
ควรที่จะให้เด็กกินอาหารพร้อมผู้ใหญ่ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากอาหารได้อย่างมาก วิธีนี้ไม่ลองไม่รู้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนแปลกใจ กับการที่ลูกกินอาหารได้มากขึ้น เวลากินร่วมโต๊ะอาหารกับพ่อแม่ บรรยากาศในครอบครัวก็จะดีขึ้นด้วย ดูดีกว่าภาพที่คุณพ่อคุณแม่วิ่งไล่ป้อน พยายามบังคับให้ลูกกินข้าวเป็นไหนๆ ทีเดียวค่ะ
สุดท้าย ควรสร้างระเบียบวินัยในการกินให้เด็ก การกินของเด็กก็มีเรื่องของระเบียบวินัย ไม่ได้หมายถึงลักษณะการกินอาหารแบบเรียบร้อยเกิน แต่หมายถึงสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการกินอาหาร เช่นว่า เริ่มมื้ออาหารบนโต๊ะอาหารเสมอ ไม่ควรลุกออกไป ไม่เล่นไปกินไป ตรงนี้มีข้อผ่อนผันได้บ้างคือเริ่มมื้ออาหารบนโต๊ะก่อน แต่ถ้าเด็กไม่ยอมกิน ลงจากเก้าอี้ไป จะไปเล่น ก็อนุโลมให้เดินตามไปป้อนได้บ้าง แต่ถ้าลูกเริ่มอมข้าว ป้วนข้าว หรือสะบัดหน้า ไม่ยอมกิน 2-3 ครั้งแล้ว ก็ควรเลิกป้อน แล้วเก็บอาหารไป ต้องตัดใจอย่างเดียวเลย
ในเวลาในการกินอาหารไม่ควรเกิน 20-30 นาที คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเดินตามป้อนข้าวลูกหรือลูกเล่นไปกินไปเป็นชั่วโมง ซึ่งจะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายการกินอาหาร ไม่เปิดโทรทัศน์ขณะกินอาหาร และไม่ควรเล่นของเล่นบนโต๊ะอาหาร เพราะจะดึงความสนใจเด็กจากอาหารที่อยู่ตรงหน้า และจะเกิดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการเปิดโทรทัศน์ขณะป้อนอาหารลูกนี้พบบ่อย และคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจเถียงว่าวิธีทำให้ลูกกินได้มากขึ้นบ้าง แต่ได้ไม่คุ้มเสีย
อย่าลืมว่าการปรับเปลื่ยนทุกอย่่างต้องใช้เวลาคล้ายกับการเปลื่ยนนิสัยหรือความเคยชินของผู้ใหญ่เองก็ยังต้องใช้เวลานาน แต่ก็มีบางราย ที่ทำตามคำแนะนำที่ว่ามาทั้งหมดแล้วเด็กก็ยังไม่ยอมกินข้าว กลุ่มนี้ต้องยอมรับว่ายากจริงๆ ทำยังไงน้ำหนักก็ไม่ขึ้น ตกเกณฑ์ไปตลอดช่วงอายุ 2-6 ปี ทั้งทั้งที่ไม่มีสาเหตุ หรือโรคทางกาย อื่นๆ ก็เหลือวิธีสุดท้าย คือต้องทำใจ เรื่องปัญหาการกินของเด็กนั้นจริงๆ แล้วก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด ใครไม่เจอเองก็คงจะไม่รู้ แต่ถ้าวิธีเดิมๆ ที่เคยทำมานานแล้วไม่ได้ผล เช่นบังคับให้กิน หรือเดินตามป้อนเป็นชั่วโมง ควรจะลองเปลื่ยนวิธีใหม่ดูบ้าง
หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณที่มา gotoknow.org
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม
เด็กกับอารมณ์
อารมณ์สำคัญกับลูกน้อยอย่างไร
เขียนโดย กัมพล ในสังคมปัจจุบันเราเน้นความรู้เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นระดับพื้นบ้านจนถึงสังคมชั้นสูง จึงเอาใจใส่เรื่องการเรียนของเด็กเป็นหลัก โดยพยายามจะให้เด็กเริ่มต้นเรียนตั้งแต่อายุยังน้อยๆ พยายามหาโรงเรียนดีๆ ให้กับลูก พยายามสืบหาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
สถานศึกษา
ปวดหัวกับหลักสูตรการเรียนปัจจุบัน
ผมล่ะเบื่อที่สุดกับการขอร้องแกมบังคับให้เจ้าลูกชายหันมาอ่านหนังสือ ปกติน้องเปรมจะเป็นคนที่ชอบหนังสือมาก ตั้งแต่ตอนยังเล็กก็ชอบเอาหนังสือรูปกาตูนมาให้ทายเล่น เอามาชี้ๆ ถามพ่อแม่เสียงเจื้อยแจ้ว แต่ตั้งแต่รู้จักกับหนังสือ ดรุณศึกษา น้องก็ไม่ค่อยจะชอบ
แม่ลูกผูกพัน
รูปน้องเปรมอีกหน่อย กำลังเห่อ
เรื่องอาหาร ปกติจะให้ทานนมแพะ ตั้งแต่แรกเกิด คือนับจากการทานนมแพะก็ประมาณเกือบ 8 เดือนหลังจากทานแต่นมแม่มาตั้งแต่เริ่มคลอด น่าเสียดายที่ตอนคลอดแต่แรกไม่ได้ทานนมแม่ เพราะต้องอยู่ในตู้อบตั้ง 1 เดือน นมแม่ที่บีบเก็บไว้เลยต้องบริจาคให้ห้องเด็กเล็กที่โรงพยาบาลทั้งหมด
โรคในเด็กเล็ก
โรคคาวาซากิ ในเด็กเล็ก
ตัวอย่างเหตุการณ์ เด็กชายบอยอายุ 2 ปี มีไข้สูงมา 5 วัน มีผื่นแดงตามลำตัว ตาแดง มีผื่นแดงตามลำตัว คุณแม่พาไปพบแพทย์ตั้งแต่เป็นไข้วันแรก แพทย์บอกว่าคอแดงเล็กน้อยได้ยาลดไข้และยาแก้อักเสบมากิน ผ่านมา 5 วันลูกยังมีไข้สูง
สถานศึกษา
เมื่อลูกต้องย้ายโรงเรียน
เมื่อถึงคราวที่ลูกจำต้องย้ายที่เรียนจากโรงเรียนเดิมไปยังโรงเรียนใหม่ ปัญหาและอุปสรรคไม่ได้เกิดกับลูกอย่างเดียว แต่เกิดกับพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างผมและครอบครัวด้วยเหมือนกัน หลายคนมองว่าเด็กวัยอนุบาลการย้ายที่เรียนหมายถึงการย้ายที่เล่น แต่เรื่องจริงไม่ใช่ เพราะหากย้ายเนื่องจากเรียนจบก็ว่าไปอย่าง เค้าจะเข้าใจว่าจบและย้ายหรือไม่ก็ได้ แต่การย้ายที่เรียนโดยที่ยังเรียนไม่จบ ต้องให้เหตุผลที่ถูกต้อง เฉพาะน้องเปรมก็เหลือแค่ปีเดียว
พัฒนาการเด็ก
หัดพับกระดาษสอนลูก Origami
อันนี้เป็นบทความในข่าวของ gotomanager.com เป็นแรงบันดาลใจสำหรับคุณพ่อที่มีลูกวัยซนอย่างผมได้ เมื่อเริ่มอ่านไปจนถึงครึ่งเรื่องนี้ความคิดที่ยังค้างอยู่ในหัวเกี่ยวกับว่า จะเอาจินตนาการของลูกวัยซนออกมาเป็นสิ่งจับต้องได้อย่างไร ให้เกิดการพัฒนาเชิงตรรกะ แต่พออ่านแล้วเจอเข้า