โรคหูชั้นกลางอักเสบ ในเด็กเล็ก

ถือเป็นภัยร้ายเงียบที่จะนำไปสู่โรคติดเชื้อรุนแรงในเด็กอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวให้ความสำคัญและหาทางป้องกันการเกิด “โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก” โดยเนื่องในวันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้รณรงค์ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หนึ่งในโรคติดเชื้อรุนแรงคร่าชีวิตเด็กเล็กทั่วโลก

ศ.พ.ญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นอีกหนึ่งโรคติดเชื้อรุนแรงในเด็กเล็กที่หลายประเทศให้ความสำคัญรณรงค์ป้องกัน โดยสมาพันธ์ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Confederation of Meningitis Organizations) หรือ CoMO ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกกว่า 14 ประเทศ กำหนดให้วันที่ 24 เม.ย.54 เป็นวันเยื่อหุ้มสมองอักเสบโลก (World Meningitis Day) เพื่อรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวในการป้องกันโรคอย่างเป็นรูปธรรม

“โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งเกิดได้จากการติดเชื้อหลายตัว อาทิ เชื้อไวรัส ซึ่งพบได้มากที่สุด รองลงมาแบคทีเรีย เชื้อรา และหนอนพยาธิ นอกจากนี้ อาจแพร่กระจายและแทรกซ้อนของเชื้อโรคจากอวัยวะอื่นๆ ซึ่งเป็นไปได้ง่ายมาก เช่น จากหู ด้วยโรคหูชั้นกลางอักเสบ”

เป็นที่น่าสังเกตว่า อาการผู้ป่วยโรคนี้เหมือน พบในโรคอื่นๆ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย และบางอาการ อาทิ ไข้ ตาไวต่อแสง ปวดต้นคอ ก้มคอลำบาก อาจมีอาการซึม ชัก ไม่รู้สึกตัว และแขนขาอ่อนแรง อย่างไรก็ดีหากเกิดกับเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ อาการมักไม่ชัดเจน ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจรักษา

อยากให้พ่อและแม่ที่มีลูกเล็กและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงอันตรายและความสำคัญของการป้องกันโรคนี้ เพราะแม้เกิดไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมาก เพียง 2-3 วัน ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากพิการหรือเสียชีวิตได้ หรือหากหายก็ยากจะกลับมาเป็นปกติ

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก

ในรายที่สมองพิการ เด็กจะมีพัฒนาการ ช้า มีโอกาสปัญญาอ่อน หรือมีโรคลมชัก หูหนวก รวมถึงสูญเสียความสามารถในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ รวมทั้งยังไม่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงพอป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคได้

ด้าน ผศ.พ.ญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคหูชั้นกลางอักเสบ เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจนำไปสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อในอวัยวะอื่นๆ เนื่องจากหูอยู่ในบริเวณฐานสมอง และมีช่องทางเชื่อมถึงกันได้หมดตั้งแต่สมองจนถึงปอด ดังนั้น การแพร่กระจายของเชื้อไปยังอวัยวะต่างๆ จึงเป็นเรื่องง่าย อาทิ จากหูไปสู่สมอง ทำให้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง หรือจากหูไปสู่ปอด ทำให้เป็นโรคปอดบวม และปอดอักเสบได้ หรือจากหูไปสู่กระแสเลือด ทำให้เป็นโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้การรักษายากขึ้นไปอีก และเด็กก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้น้อยลง

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก

ที่ผ่านมาพ่อแม่มักมองข้ามอันตรายของโรคหูชั้นกลางอักเสบ เพราะโรคหูชั้นกลางอักเสบมักแฝงมาพร้อมกับโรคไข้หวัด และอาการจะเหมือนกับอาการข้างเคียงของไข้หวัด เช่น หูอื้อ เจ็บหู ฟังไม่ค่อยได้ยิน พ่อแม่จึงเข้าใจว่าเป็นผลมาจากเด็กเป็นไข้ไม่สบายเท่านั้น และคิดว่าอาการหูอักเสบนี้จะหายไปเองเมื่อเด็กหายป่วย ดังนั้น หากไม่ได้รับการตรวจหูและรักษาอย่างจริงจัง แม้อาการภายนอกจะหายไป แต่เชื้อโรคจะยังคงแฝงตัวมีอาการซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งอันตรายมาก เพราะนอกจากจะมีโอกาสพัฒนาไปสู่หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นโรคหูน้ำหนวก ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้และพัฒนาการที่สมบูรณ์ของเด็กๆ แล้ว ยังมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือปอดบวมด้วย

พ.ญ.ปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า การป้องกันโรคนี้ขั้นพื้นฐานทำได้ง่ายๆ โดยให้ทารกดื่มนมแม่ สร้างเสริมสุขอนามัยที่ดี ด้วยการล้างมือเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น พักผ่อนอย่างเพียงพอ และควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปยังสถานที่ที่มีคนแออัดที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายมายังเด็กได้ง่าย อาทิ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ รวมทั้งที่ๆ มีเด็กรวมตัวกันมากๆ เช่น เนิร์สเซอรี่

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็ก

นอกจากนี้ ควรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยอย่างเหมาะสม อาทิ การรับวัคซีนให้ครบตามตารางวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก รวมทั้งปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบขึ้น

วัคซีนนี้ได้รับการอนุมัติ และบรรจุในแผนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติสำหรับเด็กเล็กในหลายๆ ประเทศทั่วโลกแล้ว สำหรับประเทศไทยเป็นวัคซีนเสริม ยังไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐาน ดังนั้น พ่อแม่ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าด้วยตนเอง

นอกจากจะเน้นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในกลุ่มโรคไอพีดีในเด็กเล็ก (โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด) และโรคปอดบวมแล้ว วัคซีนนี้ยังช่วยป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกุมารแพทย์จะแนะนำให้ฉีดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม

โรคในเด็กเล็ก

พ่ออายุมาก เสี่ยงมีลูกเป็น ออทิสติก

ผลการวิจัยจากศาสตราจารย์ชื่อดังในต่างประเทศนั้นระบุได้ว่า จากการศึกษาและทดลองในหนูทดลองแล้ว สามารถสรุปและชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ว่า เด็กที่เกิดจากพ่อที่มีอายุมาก จะมีการเปลี่ยนแปลงทางยีนที่เกี่ยวข้องกับการเป็น ออทิสติกและโรคสมองเสื่อม

แม่ลูกผูกพัน

สัมผัสรัก จากแม่

ทำความสะอาดให้ลูกรัก ด้วยสัมผัสจากแม่ เมื่อคุณแม่มือใหม่มักจะรู้สึกลำบากใจเวลาจะอาบน้ำให้ลูกน้อยตัวกระจ้อย เพราะกลัวว่าลูกจะลื่นหลุดมือบ้าง กลัวพลาดทำน้ำสบู่เข้าตา เข้าจมูกบ้าง ลองศึกษาวิธีการต่อไปนี้จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลย ก่อนอื่น

อาหารสำหรับคุณแม่

อาหารสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร

ระยะให้นมบุตรสำหรับคุณแม่นั้น ยาวนานเท่าที่คิดว่าจะให้ได้ แต่ไม่ควรจะต่ำกว่า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย คุณแม่บางท่านสามารถที่จะให้นมบุตรได้1 – 2 ปี ดังนั้น คุณแม่ที่ให้นมแก่ลูก จึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างสำหรับส่วนที่เสียไป โดยทั่วไปแม่ต้องการสารพลังงานเพิ่มวันละ 500 แคลอรี่

เด็กกับอารมณ์

อย่าปลูกฝังนิสัยฟุ่มเฟือย ตั้งแต่เด็ก

เป็นเรื่องที่ไม่อยากจะเขียน แต่ก็เอาเสียหน่อย เพราะในบางความคิดก็สุดจะทน ที่ทุกๆ ช่วงเย็นตอนเจอหน้าลูกชายมักจะคุยกันเรื่องในแต่ละวันที่ผ่านมา คุณพ่อจะชอบถามว่าเป็นยังไงบ้างวันนี้ที่โรงเรียน เจ้าลูกชายก็จะเล่าโน่นนี่ตามวิสัยของพ่อลูกที่สนิทสนมกันเป็นอย่างดี

แม่ลูกผูกพัน

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อลูกน้อยแข็งแรง

เดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ต้องให้ความสำคัญกับ คุณแม่ อย่างมากมาย เพราะเป็นเดือนที่เกี่ยวกับ วันแม่ นั่นเอง ก็เลยนำข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์เกี่ยวกับคุณแม่มือใหม่ ที่เตรียมตัวเตรียมพร้อมรับมือกับหลายๆ สิ่ง วันนี้เลยขอแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับ อาหาร เสียหน่อย แต่ไม่ใช่ว่าจะธรรมดาเกินไป

พัฒนาการเด็ก

น้องเปรมกับเด็กๆ อนุบาลบ้านวังทอง

หลังจากเข้าเรียนวันแรก ผ่านไปได้ 1 สัปดาห์ พอเข้าสัปดาห์ที่สอง ก็ป่วยซะแล้ว อ่านะ น้องเปรม เจ้าตัวซนป่วยทีนึง กว่าจะหายเป็นอาทิตย์แน่ะ ทำไงได้ สมัยนี้เชื้อโรคก็เก่งๆ ยาแบบเดิมๆ เอาไม่ไหวหรอก นี่ก็ไม่กล้าให้ไปเรียนเลย