เป็นอีกหนึ่งบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจจาก U.S.News สำหรับผู้ที่มีลูก ๆ เป็นเด็กเจเนอเรชั่น Y เพราะตอนนี้ถึงเวลาที่เด็กเจน Y ต้องก้าวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานกันแล้ว แต่โลกการทำงานของเด็กเจน Y ในมุมมองของบทวิเคราะห์นี้จะสดใสเหมือนโลกการทำงานของยุคพ่อแม่หรือไม่ คงต้องติดตามกันดูค่ะ
โดยรายงานจากสื่อแดนอินทรีครั้งนี้ได้อ้างอิงจากหนังสือ Not Quite Adults ของ Richard Settersten and Barbara เกี่ยวกับเด็กเจเนอเรชั่น Y (หรือก็คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุไม่เกิน 30 ปี หรือเกิดในช่วง ค.ศ. 1980 – 2000) ที่ผู้ใหญ่หลายคนมองว่า กว่าจะก้าวสู่โลกของ ผู้ใหญ่นั้นกินเวลานานกว่าเจเนอเรชั่นอื่น ๆ แต่นั่นเป็นเพราะเด็กเจน Y ต้องเผชิญกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ตลอดจนแนวทางการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ที่เปลี่ยนไปนั่นเอง
โดยผู้รายงานได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยแรก นั่นคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้การหางานทำของเด็กเจน Y นั้น ต้องแข่งขันสูง เพื่อจะให้ได้มาซึ่งหน้าที่การงาน ไม่เพียงเท่านั้น รายงานยังระบุว่า หาก นำเงินเดือนของเด็กในยุคก่อน ๆ ตอนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ มาเปรียบเทียบกับเด็กเจน Y ในยุคนี้ จะพบว่า เด็ก ๆ เจน Y ได้รับเงินเดือนเดือนแรกน้อยกว่าจนยากจะตั้งตัวได้ในเร็ววัน (ในประเทศไทยก็คงมองเห็นภาพนี้กันค่อนข้างชัด กับเงินเดือนของพนักงานจบใหม่ที่มักถูกกำหนดให้อยู่ระหว่าง 7,000 – 9,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายรอบตัวที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร)
อีกทั้งเด็กในยุคนี้ยังมีภาระหนี้ติดตัวมา เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจ่ายหนี้คืนนั้น ในหลายประเทศ เรียกเก็บในอัตราที่ค่อนข้างสูง เช่น ในสหรัฐอเมริกานั้น อาจต้องจ่ายคืนถึงเดือนละ 500 เหรียญเลยทีเดียว ทำ ให้โอกาสที่จะลืมตาอ้าปากของเด็กเจน Y ต้องยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง หรือจนกว่าที่พวกเขาจะชำระหนี้ครบ จึงจะได้เริ่มสะสมเงินเพื่ออนาคตของตนเอง
เมื่อสภาพการทำงาน และการใช้ชีวิตเป็นเช่นนี้ ทำให้เด็ก ๆ เจเนอเรชั่น Y หลายคนเลือกอาศัยอยู่กับพ่อแม่ เพราะไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ไหว ซึ่งอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับสังคมเอเชีย แต่การทำเช่นนั้นใน สังคมตะวันตกกลับเป็นเรื่องที่แปลก และแตกต่าง จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนส่วนหนึ่งจะมองเด็กเจน Y ว่า ไม่แกร่งกล้ามากพอที่จะนับว่าเป็นผู้ใหญ่ในโลกแห่งการแข่งขันเช่นนี้
กลัวการเป็นหนี้?
จากบทวิเคราะห์ของ U.S.News ระบุด้วยว่า เด็ก ๆ ในยุคนี้มองการเป็นหนี้ในแง่ลบ และหวาดกลัวการเป็นหนี้ ดังจะเห็นได้จากเด็ก ๆ เจน Y ไม่กล้าลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ชิ้นใหญ่ ๆ เท่ากับคนวัยเดียวกันเมื่อในอดีต (เช่น ซื้อบ้านเป็นต้น) หรือการลงทุนเปิดกิจการ ทำธุรกิจใหม่ ๆ ลงทุนด้านการศึกษา โดยมีความคิดติดตัวว่า ฉันไม่สามารถซื้อของราคาแพงเช่นนั้นได้ แล้วก็เลิกฝันไปโดยปริยาย และนั่นคืออีกเหตุผลหนึ่งของการที่พวกเขาย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว โอกาสที่จะก้าวหน้าของเด็ก ๆ ในเจเนอเรชั่นนี้จึงค่อนข้างช้ากว่าเด็กในยุคก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาขาดการสนับสนุนจากพ่อแม่ด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้เขาต้องควานหาความสำเร็จนานขึ้นเป็นเงาตามตัว
ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่คอยสะกัดการเติบโตของเด็กในยุคนี้ก็มีอีก เช่น การต้องเป็นพ่อแม่ตั้งแต่วัยรุ่น การเรียนไม่จบ ซึ่งเด็ก ๆ กลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลืออีกมากกว่าจะพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เต็มตัว
อย่างไรก็ดี มุมน่ารักของเด็กเจน Y ก็มีไม่น้อย เช่น เด็กในเจเนอเรชั่นนี้มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อแม่มากกว่าเด็กรุ่นก่อน ๆ และเจ้าความใกล้ชิดนี้เองทำให้เด็กสะดวกใจที่จะกลับบ้านมาหา มาอยู่กับพ่อแม่มากกว่าเด็กในอดีต โดยจำนวนของเด็กจบใหม่ที่ยังอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ในประเทศดังกล่าวเพิ่ม ขึ้นจาก 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 1960 มาเป็น 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 แล้ว
สำหรับประเทศไทย หลายข้อเป็นสิ่งที่เด็กเจน Y ของเราก็ต้องเผชิญไม่ต่างกัน เช่น การกระจุกตัวของแหล่งงานที่มักอยู่ตามเมืองหลวง หรือเมืองใหญ่ ๆ เด็กจบใหม่จึงต้องเลือกจ่ายค่าเช่าหอแสนแพง ค่าอาหารแสนแพงเพื่อแลกกับเงินเดือนเริ่มต้นต่ำ ๆ เพื่อผลประโยชน์ของนายทุน และความหวังว่า สักวันหนึ่งชีวิตจะดีกว่านี้ หรือคุณว่าไม่ใช่
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม
สถานศึกษา
บ้านวังทองสัมพันธ์ 2555
ดีใจปีนี้ลูกเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1 ที่โรงเรียนบ้านวังทอง และกำลังจะขึ้นชั้นอนุบาล 2 และทุกปีทางโรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ก็จัดงาน บ้านวังทองสัมพันธ์ ซึ่งปีนี้ก็ปี 2555 ในงานมีกิจกรรมการแสดงของแต่ละชั้นเรียนมากมายหลายกิจกรรมมาก และพิธีจบการศึกษาของน้องๆ
สถานศึกษา
เกษตรพอเพียงกับทักษะทางความคิดของเด็ก
เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์นั้น การอบรมและเลี้ยงดูและปลูกฝังในเรื่องแนวคิดต่างๆ มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา จากคนรอบข้างและและสิ่งแวดล้อม
สถานศึกษา
จะทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมไปโรงเรียน
เมื่อวานน้องเปรมตัวร้อนๆ คล้ายว่าจะเป็นไข้ ไอมาตั้งแต่ก่อนค่ำจนกระทั่งถึงตอนก่อนนอนเจ้าเปี๊ยกก็ไอแล้วก็อ๊วกออกมาหมดกับอาหารค่ำที่แสนอร่อยของแก เดือดร้อนถึงผู้เป็นแม่ต้องเก็บกวาดที่นอนเสียใหม่หมด กระทั่งเช้าตัวก็ยังไม่หายร้อนทั้งๆ ที่ให้ยาไปแล้ว เลยต้องบอกคนขับรถ
โรคในเด็กเล็ก
ในที่สุดก็ได้เป็น มือ เท้า ปาก
หลังจากก่อนหน้านี้ น้องเปรมได้หยุดเรียน แต่ไม่ได้ป่วย เป็นกรณีพิเศษ และเด็กๆ ทุกๆ คนในโรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ก็ได้หยุดเรียนแบบต้องนัดกันหยุดตามประกาศของคุณครูไปแล้ว เพราะที่โรงเรียนเกิดมีเด็กเป็นโรค มือ เท้า ปาก เปื่อยกัน จึงต้องปิดทำความสะอาดกันยกใหญ่ในวันนั้น ผ่านมากว่าเดือน
แม่ลูกผูกพัน
ก็พยายามจะให้เร็วกว่าเดิม แล้วนะ
ไม่รู้ครอบครัวใครเป็นเหมือนครอบครัวเรามั่งนะ ใช้บริการรถโรงเรียน แต่ต้องขับรถออกไปส่งลูกที่จุดรับอีกแห่งหนึ่งก่อน ไม่ใช่ที่บ้าน ครอบครัวคนอื่นเค้าน่าจะมีรถมารับถึงหน้าบ้านเลยก็คงเป็นได้ จะมีซักกี่ครอบครัวกันนะที่เป็นแบบครอบครัวเรา น้องเปรม คุณพ่อ คุณแม่ และน้องตัวเล็กอีกคนที่เพิ่งจะลืมตาดูโลก เราทั้งหมดพยายามสร้างความรักและเอาใจใส่แก่ลูกๆ ทุกคนให้เท่าเทียม ไปไหนไปกันแม้จะลำบากบ้าง ก็เต็มใจ
เด็กกับอารมณ์
อารมณ์สำคัญกับลูกน้อยอย่างไร
เขียนโดย กัมพล ในสังคมปัจจุบันเราเน้นความรู้เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นระดับพื้นบ้านจนถึงสังคมชั้นสูง จึงเอาใจใส่เรื่องการเรียนของเด็กเป็นหลัก โดยพยายามจะให้เด็กเริ่มต้นเรียนตั้งแต่อายุยังน้อยๆ พยายามหาโรงเรียนดีๆ ให้กับลูก พยายามสืบหาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ