ลูกคิดเป็น เล่นอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ก็คงจะพอรู้มาบ้างแล้วใช่ไหมคะว่า การละเล่น ช่วยเสริมพัฒนาการด้านต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของ "สมอง" ให้กับลูกของเรา แต่ก็ยังเกิด คำถามตามมาอีกว่า แล้วเราควร ให้ลูกเล่นอย่างไรดี จึงจะช่วยฝึกกระบวนการคิดของลูก ได้ดีที่สุด จะต้องมีเทคนิคพิเศษ หรือกลยุทธ์ที่ซับซ้อนเพื่อช่วยในการกระตุ้นความคิดของลูกระหว่างการเล่นด้วยไหม

ขออาศัยพื้นที่หน้ากระดาษตรงนี้ กระซิบบอกพ่อแม่ (ดังๆ) ว่าไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เรา "ให้ลูกเล่น" ก็เท่ากับเปิดโอกาส ให้ลูก "ฝึกคิด" ได้แล้ว

เปิดโอกาสให้ลูกเล่น ช่วยลูกกระตุ้นการคิด

เพราะเด็กเรียนรู้โลกผ่านการลงมือทำจริง คือ ผ่านการเล่นทุกๆวันดังนั้น การที่คุณพ่อคุณแม่เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นโดยหาของเล่น กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และหาเวลาเล่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอ ก็เท่ากับสร้างโอกาสให้กับลูกได้ เรียนรู้ด้วย ตนเองและจะมีกระบวนการคิดระหว่างการเรียนรู้นั้น ไปอย่างเป็นธรรมชาติ

เล่นไป คิดไป เพลินไป

การเล่นของเด็กเล็ก ตัวอย่างการจัดโอกาสในการเล่นให้ลูก เช่นถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ คุณแม่หาต้นไม้มาให้น้องหมงลองปลูก โดยบอกขั้นตอนให้น้องหมงรู้ว่า การปลูกต้นไม้ จะต้องเริ่มจากการพรวนดินให้ร่วน ขุดหลุม ใส่เมล็ด กลบดิน รดน้ำใส่ปุ๋ย แล้วให้เขาได้ลงมือ ‘เล่นปลูกต้นไม้’ ด้วยตนเอง เขาก็จะเริ่มเล่นผ่านทีละขั้นตอน ตั้งแต่การสัมผัสดินที่แม่ลองพรวนให้ดูว่า ดินมันเป็นอย่างไร ลองใช้พลั่วอันเล็ก ไม่มีคม จิ้มดินดูว่า ต้องกะน้ำหนักแค่ไหน ดินจึงจะร่วนพอดี เหมือนอย่างที่แม่ทำให้ดู

กว่าจะจบกระบวนการเล่นนี้ ลูกก็ได้คิดอีกหลายขั้นตอนแม้ในขั้นตอนสุดท้าย ลูกจะรดน้ำต้นไม้ ลูกก็ต้องน้ำใส่ฝักบัว ลูกต้องคิดระหว่างนั้นว่า ใส่เท่าไรจึงจะพอดี ใส่มากไปจนยกไม่ไหวรึเปล่า หรือใส่น้อยไป ซึ่งบางครั้งอาจเกิดข้อผิดพราก เช่นใส่น้ำมากไป ลูกยกไม่ไหว เขาก็จะเกิดการเรียนรู้ว่า ต่อไปต้องใส่เท่าไร จึงจะยกไหว

บทบาทของพ่อแม่ตอนนี้ คือ ให้คำแนะนำบ้าง แต่อย่าเพิ่งเข้าไปบอกว่า ลูกเทน้ำขนาดนี้เยอะเกินไปนะ ให้เขาได้ลองยกได้ลองเรียนรู้ดู แล้วตั้งคำถามกระตุ้นว่า ลูกจะทำอย่างไรจึงจะยกฝักบัวไหว ให้เขาคิดหาคำตอบด้วยตนเอง การเล่นปลูกต้นไม้นี้ก็ฝึกให้ลูกได้คิด และเรียนรู้ด้วยตนเองในหลายเรื่องแล้ว

การเล่นของเด็กโต ตัวอย่างการสร้างโอกาสในการเล่นให้ลูกที่โตขึ้นมาหน่อย ก็อาจจะสร้างเงื่อนไขที่ซับซ้อนมากขึ้น ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเขาเช่น เมื่อน้องตั้งอยากเล่นหุ่นยนต์ คุณแม่ไม่ซื้อให้ แต่ยังสามารถสนับสนุนให้ลูกได้เล่นหุ่นยนต์เหมือนที่ลูกอยากเล่นได้อยู่ ด้วยการหาหนังสือเกี่ยวกับหุ่นยนต์ วัสดุอุปกรณ์เหลือใช้ในบ้าน เช่น กล่อง กระดาษ กาว กรรไกร สี มาให้ แล้วชวนลูกคิดทำหุ่นยนต์เล่นเอง ซึ่งไม่ได้หมายความว่า แม่ไม่ให้เขาเล่นอย่างที่อยากเล่น แต่หาทางเลือกให้เขาได้เล่น อย่างใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

ลูกก็ต้องศึกษาจากหนังสือ และอาศัยประสบการณ์ที่เคยมีอยู่เดิม มาคิดวิเคราะห์ว่า เขาจะทำหุ่นยนต์แบบไหน ใช้วัสดุอะไร การตัดกระดาษ ติดกาว กะระยะ หรือจะเพิ่มความพิเศษให้หุ่นยนต์อย่างไรบ้าง ติดขาอย่างนี้หุ่นยนต์จะตั้งได้ไหม ทากาวแค่นี้แขนจะหลุดหรือเปล่า ลูกได้คิด และทดลองทำเอง

กระบวนการประกอบหุ่นยนต์ของลูก ก็ถือว่าลูกได้เล่น และคิด ก่อนที่หุ่นยนต์จะเสร็จแล้ว ต่อไปลูกก็ต้องคิดระหว่างการเล่น ว่าจะเล่นอย่าง ไร เก็บรักษาด้วยวิธีไหน เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้จึงจะอยู่กับเขาได้นานที่สุด เป็นการคิดที่ผ่านการลงมือทำ ที่ช่วยให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้อีกด้วย

Tips การเลี้ยงลูกให้ลองคิดเอง

  • ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสเล่น และทำกิจกรรมที่หลากหลายเหมาะกับช่วงวัย
  • ให้การเล่นเป็นไปอย่างธรรมชาติ เล่นให้สนุก อย่ามุ่งการเรียนรู้หรือทดสอบลูกมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นการสอนไม่ใช่การเล่น
  • แต่ใช่ว่าปล่อยให้ลูกเล่นเองไปเรื่อยๆ ตามประสา โดยที่เราไม่ได้เข้าไปดู หรือรับรู้เลยว่า ในแต่ละวันลูกเล่นอะไรบ้าง เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องของการเล่นที่ไม่เหมาะสมกับวัย หรือการเล่นที่เป็นอันตรายต่อลูกได้
  • ให้คำแนะนำตามสมควร ช่วยตั้งคำถาม กระตุ้นความคิดลูก คิดว่าเพราะอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ พยายามเชียร์ให้เขาได้ลองพิสูจน์ด้วยตนเอง
  • บางคำถาม หรือบางความคิดเห็นของลูกระหว่างการเล่นอาจไม่ถูกต้องนัก ก็อย่าเพิ่งตำหนิลูก เพราะเมื่อลูกถูกตำหนิอยู่เสมอ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า ถามอะไรแล้วจะโดนดุ ทำให้ต่อไปไม่อยากถาม อยู่เฉยๆ ดีกว่าจะได้ไม่โดนดุ กลายเป็นคนที่ไม่ชอบแสวงหาความรู้ ไม่ชอบคิดอย่างมีเหตุผล กลายเป็นคนที่เชื่ออะไรได้ง่าย ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน

ที่มา: นิตยสาร Mother & Care เขียนโดย มนต์ชยา sudrak.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม

โรคในเด็กเล็ก

ปัญหาการได้ยินในเด็กเล็ก

ปัญหาเรื่องของ การได้ยินในเด็กเล็ก นั้น หลายคนคงไม่ทราบว่าจะสามารถที่จะเริ่มตรวจการได้ยินในเด็กเล็กตั้งแต่เมื่อไหร่ในปัจจุบัน ซึ่งการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กเล็กนั้น จะสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเลยทีเดียว ในหลายๆ โรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ

พัฒนาการเด็ก

เข้าคอร์ส ออกกำลังกายสมอง

หลักสูตรนี้ คุณพ่อสอนลูกเอง โดยอาศัยหลักการออกกำลังกายสมองตามสไตล์ญี่ปุ่น ที่หลงไหน นำมาดัดแปลงใช้กับลูก เริ่มแรกก็ต้องเจ้าคนโตก่อน ส่วนคนเล็กยังเล็กมาก เค้าบอกว่า สมอง นั้นเป็นรูปธรรมของสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต การออกกำลังกายสมองที่ว่านั้นความจริงก็คือการกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวนั่นเอง

สถานศึกษา

น้องเปรมหกล้มหน้าไปชนบันได

ว๊ายๆๆ หน้าบวมปูดเลย ตรงหว่างคิ้วพอดี เหมือนไปเสริมดั้งมา จะนั่งขำปนร้องไห้หรือจะร้องไห้ปนขำดีเนี่ย ที่ลูกซนยังกะลิง หกล้มแล้วหน้าไปชนกับขั้นบันไดตรงลานสนามเด็กเล่นภายในโรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ลูกเราทำไมซนจัง สอบถามครูบอกว่าขนาดเกิดเหตุหนักขนาดนี้ ก็ยังไม่เลิกซน ช่วงเช้าคุณพ่อเค้าพาไปส่งเข้าเรียนแล้วอาการตอนแรกก็เหมือนว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น

พัฒนาการเด็ก

น้องเปรม ใกล้ 3 ขวบแล้ว

กำลังจะเริ่มเข้าเรียนที่ โรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง รังสิตคลอง 2 แหมตื่นเต้นซะไม่มีเลย ตอนนี้ก็ดี๊ด๊าใหญ่ พาไปเที่ยวบ้านเกิด นี่รีสอร์ทกำลังใกล้จะเสร็จ เรียกได้ว่าเป็นเถ้าแก่น้อยเลยก็ว่าได้

พัฒนาการเด็ก

ถอดรหัส ภาษาเด็กทารก

เสียงอ้อแอ้ๆ ของทารกปริศนาที่คุณแม่ทั่วโลกอยากรู้ว่าลูกน้อยต้องการสื่อสารอะไร ได้ถูกไขความลับ ความมหัศจรรย์ของศาสตร์กับ ภาษาเด็กทารก แล้ว โดย พริสซิล่า ดันสแตน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ การสื่อสารภาษาเด็กทารก ระดับโลกที่กำลังฮิตสุดๆ ในประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา โดยทางแป้งเด็กแคร์ได้ชิงดึงตัวมาเป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์

แม่ลูกผูกพัน

ก็พยายามจะให้เร็วกว่าเดิม แล้วนะ

ไม่รู้ครอบครัวใครเป็นเหมือนครอบครัวเรามั่งนะ ใช้บริการรถโรงเรียน แต่ต้องขับรถออกไปส่งลูกที่จุดรับอีกแห่งหนึ่งก่อน ไม่ใช่ที่บ้าน ครอบครัวคนอื่นเค้าน่าจะมีรถมารับถึงหน้าบ้านเลยก็คงเป็นได้ จะมีซักกี่ครอบครัวกันนะที่เป็นแบบครอบครัวเรา น้องเปรม คุณพ่อ คุณแม่ และน้องตัวเล็กอีกคนที่เพิ่งจะลืมตาดูโลก เราทั้งหมดพยายามสร้างความรักและเอาใจใส่แก่ลูกๆ ทุกคนให้เท่าเทียม ไปไหนไปกันแม้จะลำบากบ้าง ก็เต็มใจ