พัฒนาการของลูกน้อย

ข้อมูลแสดงการพัฒนาการของเด็กเล็ก ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 เดือน จะมีความต้องการหลากหลาย แต่มีความต้องการหลักๆ ไม่กี่อย่าง ต้องการความอบอุ่นทางร่างกายโดยการพันผ้ารอบตัวของเด็ก ต้องการความอบอุ่นทางจิตใจจากสัมผัสอันอบอุ่นของแม่ ต้องการดูดนมจากอกแม่ ต้องการความเงียบเพื่อนอนนานๆ และแสงที่ไม่จ้าเกินไป ต้องการความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ต้องการการพูดคุยด้วยในยามตื่นนอน ต้องการการได้ยินเสียงที่นุ่มนวลจากมารดา บิดา หรือคนใกล้ชิด

พัฒนาการวัยแรกเกิด

ทางด้านร่างกาย เด็กจะมีน้ำหนัก 3-3.5 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถเอียงศีรษะไปด้านข้างได้ เมื่อนอนหงายหรือนอนคว่ำในท่าที่จับวางไว้ สามารถเคลื่อนไหวท่อนแขน ได้แบมือกำมือได้ เคลื่อนไหวท่อนแขนมากกว่าท่อนขา

ทางด้านอารมณ์ อาจมีอาการตกใจง่ายโดยแสดงอาการเกร็งหรือผวา ไม่ชอบการเคลื่อนไหวมากเกินไป ไม่ชอบอุ้มนานๆ แสดงอาการพอใจได้บ้างโดยทำเสียงในคอเบาๆ

ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ชอบนอนโดยไม่มีการรบกวน เมื่อร้องไห้จะหยุดได้ถ้ารู้สึกถึงสัมผัสที่นุ่มนวลจากมารดา เมื่อเริ่มให้ดูดนมครั้งแรกอาจไม่ยอมดูด แต่จะดูดได้ดีขึ้นในวันที่ 2-3

ความต้องการหลัก ต้องการความอบอุ่นทางร่างกายโดยการพันผ้ารอบตัวของเด็ก (ไม่แน่นเกินไป) ต้องการความอบอุ่นทางจิตใจจากสัมผัสอันอบอุ่นของแม่ ต้องการดูดนมจากอกแม่ ต้องการความเงียบเพื่อนอนนานๆ และแสงที่ไม่จ้าเกินไป ต้องการความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า ต้องการการพูดคุยด้วยในยามตื่นนอน ต้องการการได้ยินเสียงที่นุ่มนวลจากมารดา บิดา หรือคนใกล้ชิด

พัฒนาการทารกอายุ 1 เดือน

ทางด้านร่างกาย เด็กจะมีน้ำหนัก 4-4.5 ก.ก. ส่วนสูงประมาณ 55 ซ.ม. เมื่ออุ้มพาดบ่าจะผงกศีรษะได้เองบ้าง สามารถมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าได้ในระยะใกล้ๆ เมื่อตื่นนอนจะมองไปรอบๆ ตัว แขนขายังเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ต้องการนอนนานๆ เกือบเท่าระยะแรกเกิด

ทางด้านอารมณ์ อารมณ์โดยทั่วไปไม่แตกต่างกับระยะแรกเกิดมากนัก เริ่มยิ้มได้ ดีใจ เสียใจได้บ้างแล้ว

ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อมีคนเข้ามาใกล้จะเริ่มมอง และเมื่อมีคนอุ้มจะมีอาการเกร็งตัวเล็กน้อย รู้สึกกลัว แต่จะรับรู้ด้วยสัญชาตญาณเอง สามารถแสดงอาการสะท้อนความรู้สึกได้บ้าง เช่น ร้องเมื่อกลัวกับร้องเมื่อไม่ สบายตัวจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตุลักษณะการแสดงออก เด็กจะมีภาษาพูดเป็นของตัวเอง ช่วงนี้เด็กจะมีความสามารถพิเศษสามารถเรียนรู้และจดจำภาษาได้ทุกภาษา

ความต้องการหลัก ต้องการเช่นเดียวกับระยะแรกเกิดทุกอย่าง ต้องการให้มีคนเอาใจใส่พูดคุยด้วยมากขึ้น ต้องการดูของเล่นที่เคลื่อนไหวได้ ของเล่นที่มีสีสันฉูดฉาด แต่ไม่เป็นอันตราย

พัฒนาการทารกอายุ 3 เดือน

ทางด้านร่างกาย น้ำหนักโดยเฉลี่ย 5-6.2 ก.ก. ส่วนสูงประมาณ 60 ซ.ม. ชันคอได้บ้าง สามารถพลิกตัว ผงกศีรษะและหันไปมาได้ บังคับกล้ามเนื้อได้บ้าง ถีบเท้าได้ มองดูและเล่น มองดูนิ้วตัวเองได้ ต้องการการนอนหลับลดลงกว่าเดิม รับประทานมากขึ้น

ทางด้านอารมณ์ แสดงความรู้สึกพอใจด้วยการเปล่งเสียงอ้อแอ้ ยิ้มได้บ่อยครั้งมากขึ้น แสดงความรู้สึกทางสีหน้าได้ รู้สึกเจ็บปวด และสัมผัสอบอุ่น

ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มองหน้าแม่ขณะดูดนม มองคนที่อยู่ใกล้ๆ ได้ รู้จักหยุดฟังเสียง เริ่มจำเสียงแม่ได้

ความต้องการหลัก ความต้องการพื้นฐานเช่นเดียวกับเด็กทารก 1 เดือน ต้องการของเล่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของร่างกาย เด็กวัยนี้ต้องการคนโอบกอดและพูดคุยมากขึ้น ต้องการอาหารเสริมที่มีประโยชน์

พัฒนาการทารกอายุ 6 เดือน

ทางด้านร่างกาย น้ำหนัก 7-7.5 ก.ก. ส่วนสูงประมาณ 65 ซ.ม. คว่ำและหงายได้คล่อง ถ้าช่วยพยุงเด็กจะนั่งได้ จับของเล่นได้โดยใช้สองมือช่วยและเอาของเข้าปาก เคลื่อนไหวได้ตามความต้องการ ชอบถีบเท้าและขย่มตัว กล้ามเนื้อมือและตาเริ่มประสานกันได้ดี ตาจ้องที่ของในมือหรือของอื่นๆ ที่ห่างออกไปและพยายามจะคว้าเข้าปาก ช่างสังเกตุ

ทางด้านอารมณ์ แสดงอารมณ์ของตนได้ชัดขึ้นโดยใช้อวัยวะและท่าทาง เช่น โกรธก็จะถีบเท้า กระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น
มีความเข้าใจเล็กๆน้อยๆต่อการแสดงออกของผู้ใหญ่

ทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม แยกแยะได้ระหว่างคนแปลกหน้ากับคนคุ้นหน้า สนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น จำเสียงแม่ได้และหันไปถูกทิศที่แม่ยืนอยู่ จะไม่ชอบเสียงดังมาก

ความต้องการหลัก ต้องการความอบอุ่น ความสะอาด ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ ต้องการของเล่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาในวัยนี้

พัฒนาการของเด็ก ที่ต้องมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด

การตรวจสอบพัฒนาการของเด็กที่ผิดปกติ หากพ่อแม่พบว่าลูกมีลักษณะที่สงสัยว่าอาจจะผิดปกติหรือมีปัญหาการเลี้ยงดูควรพาไปปรึกษาแพทย์พัฒนาการเบื้องต้นที่อาจใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบมีดังนี้

การได้ยิน ในเดือนแรกเด็กไม่สะดุ้งเวลามีเสียงดังใกล้ตัว อายุ 6 เดือนไม่หันมองหาตามเสียงเรียก หรือเสียงใดๆ
การมองเห็น เดือนแรกไม่มองหน้ามารดา หรือสิ่งของใดๆ อายุ 3 เดือนไม่มองตามสิ่งของหรือหน้าคนที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้า อายุ 6 เดือนไม่คว้าของ หรืออยากรู้อยากเห็น อาย ุ9 เดือนไม่หยิบของชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ตรงหน้า
การเคลื่อนไหว เดือนแรกแขนขาเคลื่อนไหวน้อย อายุ 3 เดือนยังไม่ชันคอ หรือผงกหัว อายุ 5 เดือนยังไม่คว่ำ อายุ 9 เดือนยังไม่นั่ง อายุ 1 ปีไม่เกาะยืน อายุ 2 ปียังล้มง่ายเก้ๆ กังๆ ขาอ่อน แขนขาไม่มีแรง
การรู้จักใช้ภาษา อายุ 10 เดือนยังไม่เลียนเสียงพูดใดๆ อายุ 1ปียังไม่เลียนแบบท่าทางยังพูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย อายุ 3 ปียังพูดไม่เป็นประโยค

ต้องตรวจสอบโดยการติดตามอย่างใกล้ชิด จากผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม

แม่ลูกผูกพัน

สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่ควรสอนให้ลูก

หน้าที่ของพ่อแม่คือ การอบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนมีความอดทน มีความพยายาม รวมทั้งมีใจขวนขวายหาความรู้ อีกทั้งสอนให้ลูกมีทักษะในการพูด อ่าน เขียน ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นของการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็ก

โรคในเด็กเล็ก

อยากไปโรงเรียน แต่ดันป่วยซะนี่

วันจันทร์ น้องเปรม ก็ยังป่วย และแล้วคุณแม่ก็ต้องโทรหาคุณน้าเจต คนขับรถรับส่งนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ว่าวันนี้ไม่ต้องมารับน้องเปรมนะ เพราะคุณลูกตัวดีป่วยซะแล้ว ก็จะทำยังไงได้ล่ะ คืนวันเสาร์อากาศร้อน

สถานศึกษา

งานวันแม่ อนุบาล บ้านวังทอง 12 สิงหาคม 54

วันก่อนได้ไปงานโรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นทุกๆ ปีแต่ไม่มีโอกาสได้ลงรูป วันนี้เลยเอาลงซะหน่อย เดี๋ยวว่างๆ จะมา update กันอีกในหน้านี้ ทีเดียวเลย ลงวันละรูปจะดีมั้ยน้อ นี่เป็นการ์ดของคุณแม่ๆ ที่ทำให้ลูกๆ เอามาติดบอร์ดหน้าโรงเรียน เห็นแล้วน่ารักมากมาย

สถานศึกษา

กิจกรรมพิเศษหลังเลิกเรียน ที่อนุบาลบ้านวังทอง

ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ในเทอมสองนี้มีกิจกรรมหลังเลิกเรียนตั้งแต่วันธรรมดา ไปจนกระทั่งถึงวันเสาร์มากมาย ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อต้องการเสริมสร้างหลักสูตรให้แก่เด็กๆ โดยทางโรงเรียนพิจารณากิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กในระดับปฐมวัย หรือวัยอนุบาลนี้ขึ้น โดยกิจกรรมพิเศษทุกๆ กิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองสามารถเลือกที่จะให้ลูกๆ ได้เรียนอย่างเสรีได้ ไม่เป็นการบังคับ โดยกิจกรรมที่ทางอนุบาลบ้านวังทองเปิดในเทอม 2 นี้มีดังนี้

สถานศึกษา

น้ำท่วมนี้ทำเด็กไทยไอคิวต่ำ

ปัญหาน้ำท่วมไม่ว่าเจอที่ไหนก็มีแต่แย่กับแย่ ซึ่งผลกระทบที่ตามมานั้นแม้ว่าจะไม่เห็นทันตาในหลายๆ เรื่องแต่นักโภชนาการชื่อดังได้ออกมาเตือนแล้วเกี่ยวกับเด็กเล็กที่ไม่ได้รับสารอาหารมีประโยชน์นาน 1 เดือน เสี่ยงสมองไม่โต เตี้ย ผอมและไอคิวต่ำ

เด็กกับอารมณ์

เด็กน้อยเจ้าอารมณ์

ฝึกนิสัย ลูกน้อยเจ้าอารมณ์ เมื่อช่วงแรกเกิดนั้น ลูกยังไม่แสดงอารมณ์ที่ซับซ้อนมากนัก สามารถดูได้ง่ายว่าสบายใจ ลูกก็จะมีหน้าแจ่มใส มองยิ้มส่งเสียงในคอเล่นอ้อแอ้ จะร้องกวนบ้างก็ในช่วงที่รู้สึกหิวหรือไม่สบายตัว หรือง่วงนอน แต่เมื่อได้กินอิ่ม หรือนอนกอด กล่อมให้หลับ ก็จะนอนหลับสบาย ๆ