ตัวอย่างเหตุการณ์ เด็กชายบอยอายุ 2 ปี มีไข้สูงมา 5 วัน มีผื่นแดงตามลำตัว ตาแดง มีผื่นแดงตามลำตัว คุณแม่พาไปพบแพทย์ตั้งแต่เป็นไข้วันแรก แพทย์บอกว่าคอแดงเล็กน้อยได้ยาลดไข้และยาแก้อักเสบมากิน ผ่านมา 5 วันลูกยังมีไข้สูง คุณแม่สังเกตุเห็นมีผื่นแดงตามตัว ตาแดง จึงพามาพบกุมารแพทย์ที่โรงพยาบาล
ผลการตรวจร่างกายพบว่า เด็กมีไข้ 39 องศาเซนเซียส ตาแดง มีผื่นแดงตามลำตัว อ้าปากพบลิ้นสีแดงมาก ริมฝีปากแดงและมีต่อมน้ำเหลืองโต แพทย์สงสัยว่าน้องบอยอาจจะ ป่วยเป็นโรคคาวาซากิ จึงได้แนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัย เนื่องจากอาการของน้องบอยเข้าได้กับโรคนี้ ความสำคัญของโรคนี้คือ โรคนี้ทำให้มีการอักเสบของเส้นเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจด้วย ทำให้เส้นเลือดที่หัวใจโปร่งพอง ถ้าให้การรักษาไม่ทันท่วงทีเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจทำให้เด็กเสียชีวิตได้
ผลการตรวจเลือดพบว่าน้องบอยเป็น โรคคาวาซากิ แพทย์จึงแนะนำให้เด็กอยู่โรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาโดยการให้ยา IVIG ทางเส้นเลือด ยาชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพง แต่เป็นยาที่จำเป็นต้องให้เพราะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเส้นหัวใจโปร่งพอง ตรวจดูเส้นเลือดหัวใจโดยวิธี ECHOดูเส้นเลือดหัวใจ ต้องได้รับยาแอสไพรินเพื่อลดการอักเสบของเส้นเลือด น้องบอยได้รับการรักษาจนไข้ลงดี ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่น้องบอยยังต้องกินยาแอสไพรินต่ออีกระยะหนึ่ง และต้องได้รับการตรวจเส้นเลือดหัวใจตามแพทย์นัด นอกจากนั้นคุณหมอยังแนะนำให้น้องบอยรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสและป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ด้วยเพราะเด็กที่กินแอสไพรินถ้าติดเชื้อโรค2 ชนิดนี้อาจเกิดภาวะกลุ่มอาการไรด์ทำให้เสียชีวิตได้
ตัวอย่างของน้องบอยเป็นตัวอย่างของคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยได้เร็วและรักษาได้ทันท่วงที แต่โรคนี้บางครั้งอาการไม่ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยโรคช้า เด็กอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ทราบสาเหตุ ในเมืองไทยมีอุบัติการณ์ต่ำมาก ในชีวิตของหมอเองเคยรักษาผู้ป่วยโรคนี้เพียง 4 ราย แต่ในเด็กญี่ปุ่นโรคนี้พบบ่อยมากจนคิดว่าเชื้อชาติน่าจะมีความสัมพันธ์กับ
การเกิดโรคนี้หมอเคยไปดูงานแผนกโรคหัวใจที่ประเทศญี่ปุ่น จะมีเด็กป่วยเป็น โรคคาวาซากิ มาตรวจหัวใจทุกวัน จนเป็นโรคธรรมดาในประเทศญี่ปุ่นคือถ้าเด็กมีไข้มาหลายวันเขาจะนึกถึงโรคนี้ก่อน แต่ถ้าเป็นในเมืองไทยแพทย์จะนึกถึงโรคไข้เลือดออกก่อน โรคคาวาซากิ รักษาได้ถ้ามีการพบอาการเร็ว และรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าลูกมีไข้เกิน3-4 วันขณะที่ได้รับการรักษาอยู่ กินยาอยู่แต่อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม
อาหารสำหรับคุณแม่
อาหารสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร
ระยะให้นมบุตรสำหรับคุณแม่นั้น ยาวนานเท่าที่คิดว่าจะให้ได้ แต่ไม่ควรจะต่ำกว่า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย คุณแม่บางท่านสามารถที่จะให้นมบุตรได้1 – 2 ปี ดังนั้น คุณแม่ที่ให้นมแก่ลูก จึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างสำหรับส่วนที่เสียไป โดยทั่วไปแม่ต้องการสารพลังงานเพิ่มวันละ 500 แคลอรี่
สถานศึกษา
วันแรกที่ อนุบาลบ้านวังทอง รังสิต คลองสอง
ก่อนเข้าเรียนประมาณ 2-3 วัน น้องเปรมดี๊ด๊ามาก เห็นพี่ๆ น้องๆ แถวบ้านสะพายเป้สวยๆ ไปโรงเรียนเวลาพาเค้าไปตลาดทุกเช้าก็บอกว่าอยากไปโรงเรียน
อาหารสำหรับคุณแม่
โภชนาการ ของคุณแม่ตั้งครรภ์
เกิดอะไรขึ้นในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ อ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และคุณแม่ควรรัปประทานอาหารอย่างไรเพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง
โรคในเด็กเล็ก
เด็กแพ้โปรตีนจาก นมวัว
เคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมลูกถึงทานนมวัวไม่ได้ ทั้งๆ ที่เด็กคนอื่นทั่วไปก็ทานกันได้ อย่างกรณีน้องเปรมก็เหมือนกัน แรกคลอดก็จะทานนมแม่ แต่ช่วงที่นมแม่ไม่เพียงพอก็ต้องมีนมเสริม ทางเราเลยจัดหานมให้ลูกรับประทาน ทางเลือกแรกคือนมวัว เพราะมีหลากหลายและหาซื้อได้ง่าย แต่พอทานเข้าไปลูกก็แหวะออก บางครั้งก็อ๊อก ทานเท่าไหร่ก็ไม่เข้าท้องเลย อ๊อกออกตลอด อาการแบบนี้คุณหมอว่ามีสาเหตุ…
สถานศึกษา
วัดความเก่งของ เด็กวัยอนุบาล
ชอบที่คำถามของคุณแม่ท่านหนึ่งที่ถามคุณครูจินว่า การแยกห้องเรียนในชั้นอนุบาล และการวัดความเก่งของเด็กในวัยอนุบาลนี้ สามารถทำได้หรือไม่ โดยคุณแม่ถามท่านหนึ่งได้ถามว่า อยากทราบเรื่องการแยกห้องเรียนอนุบาล…เป็นห้องเด็กเก่งกับห้องเด็กไม่เก่งคะ รู้สึกว่าห้องเด็กไม่เก่ง
เด็กกับอารมณ์
เรื่องไม่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ทำร้ายเด็ก
เรื่องนี้จริงๆ ไม่อยากเขียน เอาเป็นว่า ผู้ปกครองอยากระบายก็ละกัน และอีกอย่าง เรื่องของน้องเปรมเองก็ไม่ค่อยได้เขียนมานานแล้ว วันนี้เป็นโอกาสดีที่คุณพ่อจะมาบ่นๆ เกี่ยวกับเรื่องลูกและเรื่องคนใกล้ชิดกันซักนิด