ปัญหาการได้ยินในเด็กเล็ก

ปัญหาเรื่องของ การได้ยินในเด็กเล็ก นั้น หลายคนคงไม่ทราบว่าจะสามารถที่จะเริ่มตรวจการได้ยินในเด็กเล็กตั้งแต่เมื่อไหร่ในปัจจุบัน ซึ่งการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กเล็กนั้น จะสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเลยทีเดียว ในหลายๆ โรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ ในปัจจุบัน เมื่อมารดาได้คลอดบุตรในโรงพยาบาล ก่อนที่จะพาเด็กกลับบ้านเด็กแรกคลอดจะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินก่อนที่จะกลับบ้านจากโรงพยาบาลอยู่แล้ว

การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดนี้ ในต่างประเทศบางประเทศถือว่าเป็นมาตราฐานของ program ที่เด็กต้องได้รับเหมือนกับการฉีดวัคซีนเลยทีเดียว โดยที่ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด เรียกว่า Otoaeoustic emissions ซึ่งปลอดภัยในการตรวจและใช้เวลาไม่มากนัก หลักการทำงานของเครื่องมือชนิดนี้คือเมื่อเราใส่เสียงกระตุ้นเข้าไปในหูเด็ก เซลล์ขนส่วนนอก (Outer hair cell) ในหูชั้นในจะมีการหดตัวและส่งเสียงสะท้อนกลับ ออกมา โดยเครื่องมือดังกล่าวจะมีตัวรับ (Reciever) ที่จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณและแสดงค่าการหดตัว ของ Outer hair cell เป็นเสียงสะท้อนให้เห็นเป็นรูปของกราฟ

ในมลรัฐจอร์เจียได้มีการประเมินว่ามีเด็กที่เกิดใหม่ อย่างน้อย 1 ราย ต่อวัน ที่จะมีปัญหาการได้ยินบกพร่อง รัฐจึงจัดสรรงบประมาณ ถึง 2 ล้านเหรียญ ต่อปี ในการจัดทำการตรวจการได้ยินในเด็กทุกราย และให้การสนับสนุน โปรแกรมการสอนที่จะช่วยเหลือ เด็กที่พบว่ามีปัญหาการได้ยินบกพร่องตั้งแต่แรก เพื่อป้องกันการลุกลามของปัญหาพัฒนาการ

ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขประเมินว่า การทำโปรแกรมพิเศษเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กที่มีปัญหาโดยที่ผู้ปกครองไม่ทราบ ได้รับการช่วยเหลือได้โดยเร็ว เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่ากว่าที่เด็กที่เกิดมามีปัญหาการได้ยินบกพร่องตั้งแต่เกิดจะได้รับการวินิจฉัย และส่งมาเข้ารับการช่วยเหลือในโปรแกรมต่างๆ ที่ทางรัฐ มีให้นั้นก็มักจะช้าไป โดยเฉลี่ยจะเป็นอายุประมาณ 2 ปี ครึ่ง

การตรวจการได้ยินในเด็กเล็ก

ซึ่งเด็กมักจะมีปัญหาทางด้านการพัฒนาการด้านอื่นร่วมด้วยแล้ว และทำให้การแก้ไขเรื่องต่างๆ นี้ยิ่งยากไปอีก เพราะทำให้เกิดปัญหาด้านการเรียนรู้ การพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น การเข้าสังคม การใช้ภาษา การพูด ซึ่งมักจะเป็นปัญหาที่จะติดตัวเด็กไปในระยะยาว เนื่องจากพื้นฐานการพัฒนาการ ด้านภาษา และ การเข้าสังคม นั้นจะเริ่มมีรากฐานมาตั้งแต่แรกเกิด และ ช่วงอายุที่มีความสำคัญมาก คือ ในช่วง 6 เดือนแรก ถ้าเด็กไม่ได้มีการได้ยินเสียงอะไรเลย ก็จะมีผลต่อการพัฒนาทางสมอง ในส่วนการใช้ภาษาและจะมีผลในระยะยาวไปตลอดชีวิตของเขา

จากการศึกษาพบว่าถ้า Outer hair cell ทำงานปกติ ระดับเสียงเพียง 30 – 35 dB ก็จะกระตุ้น การทำงานของ cell ดังกล่าวและส่งเสียงสะท้อนกลับออกมาได้แล้ว

ถ้าแปลผลจากหลักการดังกล่าว จะเห็นว่าถ้าเด็กที่มีปัญหาการได้ยินที่แย่กว่า 30 – 35 dB ขึ้นไป เช่นมีประสาทหูเสื่อม มีน้ำในหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง ก็จะทำให้ตรวจด้วยเครื่อง Otoaeoustic emissions ไม่ผ่านแล้ว นั่นคือเครื่องมือดังกล่าวจะแสดงค่าให้เห็นเป็นรูปของกราฟ แต่เครื่องมือชนิดนี้ก็มีจำนวนไม่มากนักเพื่อใช้สำหรับการตรวจ และก็จะเป็นข้อเสียของเครื่องมือดังกล่าวเช่นกัน

น้ำท่วมนี้ทำเด็กไทยไอคิวต่ำ

ถ้าเด็กตรวจหลังคลอดไม่ผ่าน screening ก็ไม่ได้แปลว่าเด็กหูหนวก แต่ระดับการได้ยินจะไม่ดีเท่ากับเด็กที่มีระดับปกติก็ได้ ทำให้การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดนั้น ผู้ตรวจต้องอธิบายถึงวิธีการและการแปลผลที่ชัดเจนให้แก่พ่อแม่ทราบ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาความวิตกกังวลของพ่อแม่ของเด็กที่ตรวจไม่ผ่านได้

การตรวจการได้ยินในเด็กเล็ก นั้น มีวิธีการตรวจได้หลายอย่าง แบ่งเป็นการตรวจการได้ยินแบบธรรมดา เช่น การทำเสียงดัง และ ดูปฏิกิริยาตอบสนองของเด็ก แต่เด็กบางคนอาจจะฉลาด แม้ไม่ได้ยินก็จะใช้ทักษะทางสายตา มองดูท่าทางของผู้ตรวจ และทำท่ายิ้มหรือหันไปตามนั้นได้ จึงอาจต้องทำการตรวจที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อตัดปัญหาตัวแปรเหล่านี้ ได้แก่ การตรวจพิเศษ ที่เรียกว่า Auditory Brainstem Response test (ABR) ซึ่งมักจะ ทำในเด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง โดยการใช้ขั้วไฟฟ้าเล็กๆ วางแปะอยู่ที่หนังศีรษะ เพื่ออ่านประจุไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้าในสมองที่เกิดขึ้น ตอบสนองต่อเสียงระดับต่างๆ ที่ใช้ ในการทำการตรวจวิธีนี้ ต้องอาศัยการทำตอนที่เด็กหลับ หรือ ให้ยารับประทานเพื่อให้หลับ (ไม่ใช่การดมยาสลบ) เพื่อให้การตรวจได้ผลแม่นยำขึ้น

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม

โรคในเด็กเล็ก

ไอหรือจาม ประมาณไหน ถึงต้องให้แพทย์ดู

จากการที่ได้คุยกับคุณหมอมาหลายๆ ครั้ง ในตอนที่น้องเปรมเอง ไม่สบายหยุดเรียนไปประมาณอาทิตย์กว่าเห็นจะได้ ก็ได้ความรู้ใหม่มาแบ่งปันกัน ก็คือว่า พ่อแม่มือใหม่มักจะมีคำถามบ่อยๆ ว่า ลูกไอ หรือ ลูกจาม ต้องรุนแรงประมาณไหนถึงจะพาไปหาคุณหมอได้ แล้วถ้าเรามีจุดสังเกตุอาการไอ หรือ จาม

สถานศึกษา

บ้านวังทองสัมพันธ์ 2555

ดีใจปีนี้ลูกเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1 ที่โรงเรียนบ้านวังทอง และกำลังจะขึ้นชั้นอนุบาล 2 และทุกปีทางโรงเรียนอนุบาลบ้านวังทอง ก็จัดงาน บ้านวังทองสัมพันธ์ ซึ่งปีนี้ก็ปี 2555 ในงานมีกิจกรรมการแสดงของแต่ละชั้นเรียนมากมายหลายกิจกรรมมาก และพิธีจบการศึกษาของน้องๆ

พัฒนาการเด็ก

ได้เล่นทะเลสมใจอยาก

สงกรานต์นี้ได้ยินแว่วๆ มาว่าถ้าผมทำตัวดีๆ ช่วยดูแลน้องแก้มหอม ผมจะได้ไปเที่ยวทะเล ผมดี๊ด๊าใหญ่ วิ่งไปวิ่งมาว่าจะได้ไปทะเล และได้ไปบ้านป้านา บ้านลุงฉุย บ้านลุงวิทย์ ที่กระบี่ เลยรีบไปบอกพี่เคียวกับน้องเค๊กว่า น้องเปรมจะได้ไปกระบี่ ไปเยี่ยมญาติแล้วนะ พี่เคียวบอกอว่าอยากไปกะปิด้วย ทุกคนขำกันใหญ่

สถานศึกษา

ปฏิทินโรงเรียนบ้านวังทอง กันยายน – พฤศจิกายน 54

ปฏิทินโรงเรียนบ้านวังทอง ภาคเรียนที่ 2/2554 กำหนดเวลาปิดภาคเรียนที่ 1/2554 แล้ว เตรียมพร้อมรับมือกับความซุกซนในขณะอยู่บ้านของเจ้าตัวเล็กกันได้แล้ว ไม่อยากจะคิดเลยเพราะน้องเปรมเองจากรายงานของคุณครูก็ว่าซนมาก คุณพ่อคุณแม่น้องเปรมเองก็รับรู้แหละว่า

พัฒนาการเด็ก

ผมไม่ได้โกหกนะ

ในบางครั้งเด็กจะแสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อน ถึงความอึดอัดของเด็กน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเขาจะพยายามทำตาแป๋ว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาโดยหวังว่าการทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น แบบซื่อๆ นี้จะใช้ได้ผลก็ตามกับผู้ปกครองบางคน แต่จาก ปัญหาเด็กโกหก

พัฒนาการเด็ก

น้องเปรมกับเด็กๆ อนุบาลบ้านวังทอง

หลังจากเข้าเรียนวันแรก ผ่านไปได้ 1 สัปดาห์ พอเข้าสัปดาห์ที่สอง ก็ป่วยซะแล้ว อ่านะ น้องเปรม เจ้าตัวซนป่วยทีนึง กว่าจะหายเป็นอาทิตย์แน่ะ ทำไงได้ สมัยนี้เชื้อโรคก็เก่งๆ ยาแบบเดิมๆ เอาไม่ไหวหรอก นี่ก็ไม่กล้าให้ไปเรียนเลย