ฝึกนิสัย ลูกน้อยเจ้าอารมณ์ เมื่อช่วงแรกเกิดนั้น ลูกยังไม่แสดงอารมณ์ที่ซับซ้อนมากนัก สามารถดูได้ง่ายว่าสบายใจ ลูกก็จะมีหน้าแจ่มใส มองยิ้มส่งเสียงในคอเล่นอ้อแอ้ จะร้องกวนบ้างก็ในช่วงที่รู้สึกหิวหรือไม่สบายตัว หรือง่วงนอน แต่เมื่อได้กินอิ่ม หรือนอนกอด กล่อมให้หลับ ก็จะนอนหลับสบาย ๆ
แต่เมื่อหนูน้อยเริ่มลุกขึ้นเดินได้เอง และสามารถรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น ก็จะมีแรงผลักดันภายในตัวเองให้อยากออกสำรวจทุกสิ่งทุกอย่าง และมีการแสดงออก มีการตอบสนองต่อคนและสิ่งรอบข้าง ซึ่งเป็น พัฒนาการของลูกน้อย ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของเด็กที่จะสร้างความวุ่นวายให้กับผู้เลี้ยงไม่น้อยทีเดียว และก็เป็นช่วยนี้แหละที่คุณพ่อคุณแม่จะทราบได้ชัดเจนขึ้นว่า ลูกของท่านเป็นเด็กที่มีพื้นอารมณ์ไปในทิศทางแบบไหน บางคนแสดงออกอย่างเข้มข้นรุนแรง รอไม่ค่อยได้ บางคนแสดงออกน้อย บางคนเงียบขรึม
พฤติกรรมการแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตัวเอง ของเด็ก จะเกิดขึ้นแทนการเลียนแบบอย่างชัดเจน ในช่วงอายุประมาณ 1.5 ปี และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 2-2.5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า เด็กขึ้นถึงจุดสูงสุด ของอารมณ์ต่อต้านปฏิเสธ คือ เด็กจะเอาแต่ใจตัวเองมากขึ้นนั่นเอง จะมีอาการต่อต้านเมื่อถูกสั่งหรือบังคับ บางครั้งมีการแสดงออกที่รุนแรง ดิ้นรน หรือร้องเพื่อเอาสิ่งที่ตนสนใจ บางครั้งคุณพ่อคุณแม่จะมองไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่จะต้องทำอย่างนั้น ลูกก็ร้องเสียแล้ว บางครั้งลงไปนอนดิ้นกับพื้น บางครั้งก็แย่งของคนอื่นหน้าตาเฉย หรือว่าเอามือน้อยๆ ทุบคุณพ่อคุณแม่ หรือทุบพี่เลี้ยง บางคนถึงกับดึงเสื้อ ดึงผม แสดงปฏิกิริยาที่แสดงออกถึงความไม่พอใจ ไม่สบายใจ หรือกลัว หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มีปฏิกิริยาไม่เชื่อฟัง ต่อต้าน ดื้อ
ช่วงนี้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าใจสภาวะอารมณ์ของเด็ก ก็จะดุว่าเสียงดังหรือพาลทำโทษเด็ก ผลที่ออกมาก็จะยิ่งทำให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี มีการต่อต้านเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่คงจะต้องมาทำความเข้าใจว่าทำไมลูกที่เคยน่าเอ็นดู ทำทุกอย่างที่บอกหรือที่ทำให้ดู แต่ทำไมกลับกลายเป็นเด็กดื้อไปเสียได้
สาเหตุหลักของพฤติกรรมเด็กเล็ก ที่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งของเด็กวัยกระเตาะกระแตะนั้น เป็นเพราะว่าเด็กมีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นและสมองมีการพัฒนาความก้าวหน้ามากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทำให้รับรู้สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ รู้จักคิดและรู้ถึงความต้องการของตัวเองแล้ว เกิดความรู้สึกที่ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง ต้องการบอกว่าหนูจะทำหรือไม่ทำ จะตัดสินใจด้วยตัวเองและต้องการควบคุมสิ่งรอบข้าง แต่ว่าเด็กวัยนี้ยังเข้าใจและใช้ภาษาอย่างไม่เต็มที่ เค้าจะมีข้อจำกัดในการเข้าใจถึงเหตุผล ความเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งใดจะเป็นอันตราย หรือเป็นประโยชน์นั้น เด็กวัยนี้จะยังมีความเข้าใจไม่แจ่มชัดนัก เพราะฉะนั้นในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูทุกท่าน จึงจำเป็นต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กและตอบสนองให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้และเกิดความเข้าใจว่า สิ่งใดควรทำและสิ่งใดไม่ควรทำ โดยการค่อยๆ สอนสั่ง กระทำการโดยละมุนละม่อม แต่ก็ต้องมีการตั้งขอบเขตที่พอดีกับระดับการพัฒนาการของเด็กแทนการบังคับ การห้ามไปหมด การดุว่า การขู่เข็ญ หรือการทำโทษด้วย
ในทางตรงข้าม ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปล่อยวางตามความต้องการของเด็ก อาจจะเกิดความเสียหายหรือเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเด็กได้ และเด็กจะไม่มีโอกาสเรียนรู้กาลเทศะ ไม่พัฒนาตนเองไปในทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและสังคม ขณะเดียวกันถ้าบังคับมาก ห้าม หรือสั่งไปหมดทุกอย่าง เด็กก็จะรู้สึกต่อต้านมากยิ่งขึ้น
เพราะเด็กบางคนก็จะสู้ตาย แสดงออกอย่างเต็มที่ด้วยการร้อง ดิ้นรน ทุบตี บางทีทำร้ายคนอื่น บางทีทำร้ายตัวเอง บางทีทำลายข้าวของ ในทางตรงกันข้ามจะมีเด็กบางกลุ่มซึ่งกลายเป็นเด็กดื้อเงียบไปเลย พอถูกบังคับมากๆ ก็ไม่อยากทำอะไรสักอย่าง แล้วความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกที่เคยสร้างไว้ก็จะสั่นคลอนไป คุณพ่อคุณแม่เองก็จะรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้การเรียนรู้ของลูกชะวัก การที่จะส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ นั้น ไม่ว่าจะด้านสติปัญญา ด้านการเข้าสังคม การรู้จักอารมณ์ของตัวเอง และการแสดงออกที่ดี กับระดับพัฒนาการของอารมณ์เด็กอย่างเหมาะสม รวมทั้งการหัดพูด การหัดใช้ภาษา ก็จะพลอยกระทบกระเทือนไปด้วย เนื่องจากความไม่เข้าใจในอารมณ์ลูกนั่นเอง
หากแต่เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่น่าจะยินดีว่า ลูกเริ่มมีความรู้สึกนึกคิดที่จะเป็นตัวของตัวเอง เป็นความก้าวหน้าของพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมเปรียบเหมือนกับว่าลูกได้ยืนด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่ที่เข้าใจถึงความรู้สึกเหล่านี้ของลูก ก็สามารถที่เลี้ยงดูและสื่อความเข้าใจให้กับลูกได้ โดยคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้กำหนดขอบเขต และเป็นผู้ที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เก็บสิ่งที่แตกหักง่ายหรือเป็นอันตรายให้พ้นมือ หาของใช้ของเล่นที่เหมาะกับวัยและความสามารถ ใช้การชี้ชวนให้สนใจทำสิ่งที่ควรมากกว่าการห้ามทำสิ่งที่ผิด ก็จะสามารถลดความขัดข้องหรือความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นกับเด็กได้ ลูกก็จะมีแนวพัฒนาการค่อยๆ เรียนรู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ รู้จักปรับสมดุลระหว่างความต้องการของตนเองกับความต้องการของสังคม และการแสดงออกที่เหมาะสม ทำให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีอารมณ์ความคิด และบุคลิกภาพที่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดนั้น มองข้ามจุดเหล่านี้ไปก็อาจจะไปส่งเสริมลักษณะนิสัยที่เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีขอบเขตและเกิดความคับข้องใจมาก ทำให้เด็กอารมณ์เสียง่าย และเป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็นคนมีความสุขยาก และไม่มีใครอยากคบเมื่อโตขึ้น
ต้นไม้ที่ดี ย่อมเติบใหญ่ได้ เมื่อหมั่นรดน้ำพรวนดิน ลูกที่ดีได้ ย่อมเกิดจากความเข้าใจ สอนสั่งของผู้เลี้ยงดูเป็นหลัก
ขอขอบคุณบทความของ รศ.พญ. นิตยา คชภักดี หน่วยพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงใหม่ โดย KSSN~PK[V]
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในบล็อกพี่เปรม
เด็กกับอารมณ์
การเลี้ยงลูกไม่ให้เป็นเด็กเผด็จการ
ในวันที่ลูกถูกเลือกให้เป็น หัวหน้าห้อง หรือเป็นหัวหน้ากลุ่ม ถือเป็นข่าวดีที่สร้างความภูมิใจให้กับพ่อแม่ได้ไม่น้อย แต่การเป็นผู้นำของลูก หากไม่มีบทบาทของการเป็นผู้นำที่ดี เช่น รับฟังความคิด หรือให้โอกาสคนอื่นได้คิด และตัดสินใจ โอกาสที่ลูกจะกลายเป็นผู้นำแบบเผด็จการย่อมเป็นไปได้สูง
เด็กกับอารมณ์
เรื่องไม่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ทำร้ายเด็ก
เรื่องนี้จริงๆ ไม่อยากเขียน เอาเป็นว่า ผู้ปกครองอยากระบายก็ละกัน และอีกอย่าง เรื่องของน้องเปรมเองก็ไม่ค่อยได้เขียนมานานแล้ว วันนี้เป็นโอกาสดีที่คุณพ่อจะมาบ่นๆ เกี่ยวกับเรื่องลูกและเรื่องคนใกล้ชิดกันซักนิด
แม่ลูกผูกพัน
ก็พยายามจะให้เร็วกว่าเดิม แล้วนะ
ไม่รู้ครอบครัวใครเป็นเหมือนครอบครัวเรามั่งนะ ใช้บริการรถโรงเรียน แต่ต้องขับรถออกไปส่งลูกที่จุดรับอีกแห่งหนึ่งก่อน ไม่ใช่ที่บ้าน ครอบครัวคนอื่นเค้าน่าจะมีรถมารับถึงหน้าบ้านเลยก็คงเป็นได้ จะมีซักกี่ครอบครัวกันนะที่เป็นแบบครอบครัวเรา น้องเปรม คุณพ่อ คุณแม่ และน้องตัวเล็กอีกคนที่เพิ่งจะลืมตาดูโลก เราทั้งหมดพยายามสร้างความรักและเอาใจใส่แก่ลูกๆ ทุกคนให้เท่าเทียม ไปไหนไปกันแม้จะลำบากบ้าง ก็เต็มใจ
สถานศึกษา
โฮมสคูล เรียนที่บ้าน น่าสนใจดี
ก็ในเมื่อหาโรงเรียนให้กับเจ้าตัวเล็กไม่ได้ หรือมีข้อจำกัดในการเรียน มีปัญหาหลายๆ ด้าน ก็ทำบ้านให้เป็นโรงเรียน สอนเองซะเลยจะได้ไหม เราสามารถสอนลูกเราเองให้เรียนรู้ในทุกๆ เรื่องที่เราอยากจะให้รับรู้เองแทนการที่จะต้องให้เจ้าตัวแสบไปเรียนที่ไกลๆ
สถานศึกษา
โครงการแบ่งปันนิทาน สู่เพื่อนบนดอย กับอนุบาลบ้านวังทอง
โครงการดีๆ มาอีกแล้วกับโรงเรียน อนุบาลบ้านวังทอง ที่น้องเปรมเรียนอยู่นี้ มีโครงการดีๆ จัดขึ้นทุกปี ปีนี้ก็เป็นปีที่ 9 แล้ว โดยเป็นโครงการแบ่งปันในแต่ละปีก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละพื้นที่ด้วย เป็นการปลูกฝังให้เด็กๆ ได้รู้จักการแบ่งปันสิ่งดีๆ
โรคในเด็กเล็ก
โรคปอดบวมในเด็กเล็ก
โรคปอดบวม คืออาการอักเสบอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด หลอดลม และถุงลมต่างๆ โรคนี้เกิดจากสาเหตุส่วนใหญ่ จะเป็นการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กที่สำคัญ สำหรับข้อมูลการสำรวจขององค์การอนามัยโลก